1/12/55

วรรณกรรม " อยู่กับก๋ง

ผู้แต่งคือ หยก บูรพา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙
       “อยู่กับก๋งเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนจีนที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยสมัยเริ่มแรก  ความสัมพันธ์ระหว่างคนจีนกับคนไทย  ชีวิตชาวห้องแถวในชนบท  นอกจากนั้นผู้แต่งได้พยายามสอดใส่ทัศนคติต่อชีวิต สังคม วัฒนธรรมการดำเนินชีวิตและอาชีพของคนจีนที่ออกจากแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนมาด้วยความหวังว่าอนาคตจะต้องดีกว่าอดีตและปัจจุบัน


          ชีวิตก๋งบนผืนแผ่นดินไทยเป็นชีวิตของคนธรรมดาสามัญที่จากแผ่นดินบ้านเกิดมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร  ก๋งทำงานเลี้ยงชีพตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างจริงจัง  เอื้อเฟื้อต่อเพื่อนบ้าน  เกรงกลัวและรักษากฎหมายบ้านเมืองไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ารักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและกฎแห่งกรรมตามคติความเชื่อแห่งจีนเก่า  และที่สำคัญก๋งมีความเข้าใจในความเป็นไทย  รักคนไทย  บำเพ็ญตนเยี่ยงพลเมืองดีตลอดชีวิตอันยากไร้  เทิดทูลองค์พระมหากษัตริย์ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  ก๋งได้พยายามถ่ายทอดความสำนึกดังกล่าวให้แก่หยกหลานชายคนเดียวของก๋งและคนอื่นๆ  ตามโอกาสอันควร  ขณะเดียวกันก๋งก็สงวนสิ่งที่ดีงามอันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศบ้านเกิดเมืองนอน เพราะก๋งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและไม่ขัดกับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ก๋งมาอยู่  และหยกจึงเป็นตัวแทนของเด็กชาวจีนที่เกิดในเมืองไทย  เมื่อได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้มีคุณธรรมเช่นก๋ง  หยกจึงเป็นตัวแทนของเด็กไทยเชื้อสายจีนที่ความสำนึกอย่างแน่นแฟ้นว่าเป็นคนไทย
          “ฉันเก็บเครื่องนอนอย่างเรียบร้อยทุกครั้ง  เพราะก๋งพร่ำสอนฉันว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่าต่อชีวิตของเราหมอนเป็นที่รองหัวซึ่งเป็นของสูงสุดในร่างกาย  เสื่อเป็นเครื่องรองให้เราพ้นจากความสกปรกของธุลีดิน  ผ้าห่มให้ความอบอุ่นและมุ้งกันเราให้พ้นจากการรบกวนของสัตว์ประเภทเลื้อยคลานและแมลง
          “คนที่ไม่เป็นระเบียบชีวิตจะยุ่งเหยิง  คนที่ไม่รักความสะอาดจะหาความสดชื่นแจ่มใสไม่ได้  และคนที่ไม่รักความสุจริตชีวิตจะมีมลทิน
          “ไม่ต้องอายที่เป็นคนจน  แต่ควรอายที่เป็นคนเลว  เพราะความจน ความรวยเราเลือกไม่ได้  แต่ความดีความเลวเราเลือกทำ  เลือกเว้นได้
          “เด็กห้องแถวกลางตลาดอย่างฉัน   ก็ต้องหัดทำงานได้สารพัดอย่าง  ไม่ว่างานหนักหรืองานเบา  มันเป็นความจำเป็นโดยมีความจนเป็นนายคอยชี้นิ้วบัญชา  ความดิ้นรนเป็นมือที่คอยผลักดัน ความเพียรเป็นพี่เลี้ยงคอยพยุงไม่ให้ระทดท้อ...
คนที่ร่ำรวยแล้วยังไม่ยอมหยุดนิ่งละเว้นการสะสม  แล้วคนจนๆอย่างเราจะอยู่เฉยๆได้อย่างไร...
เทพเจ้าแห่งโชคดีไม่เคยเอื้อมมือมาแตะหน้าผากอวยชัยคนเกียจคร้านเลย
          “ก๋งเพียรสอนให้ฉันยอมรับความเป็นจริงของชีวิต  มีความมั่นใจในตัวเองและเข้มแข็งต่อการบุกบั่นเพื่อความอยู่รอด  ข้อคิดพื้นๆของก๋งทำให้ฉันเข้าใจฐานะที่แท้จริงของตนเอง  ทำให้ฉันเป็นสุขได้ในความขัดสนจนยากและไม่ท้อแท้
          “คนที่เขารวยได้น่ะเพราะเขามีโอกาสและมีความสามารถไม่ใช่ดวงดีแล้วจะร่ำรวยได้  ก่อนจะสร้างตัวได้สำเร็จเขาจะต้องผ่านการทำงานหนักมาแล้วด้วย  รู้จักหาเงิน  รู้จักเก็บออม  รู้จักคิดหาช่องทางต่อทุน  ฐานะของเขาจึงเป็นปึกแผ่นขึ้นมาได้  ไม่มีใครโชคดีถึงกับนอนขี้เกียจข้างถนนแล้วเทวดาจะโยนถุงเงินลงมาให้ถึงหน้าตัก
          “เขาไม่อยากเป็นเพื่อนกับเราก็ตามใจเขา  แต่อย่าโกรธหรือเกลียดชังเขา  ในโรงเรียนและในตลาดเรายังหาเพื่อนที่จะคบเราอย่างจริงใจได้อีกมากมายขอให้เราเป็นคนดีเท่านั้น
          “ปัจจุบันและอนาคตของบางครอบครัวก็คาดคะเนได้ไม่ยากเลย    เพียงแต่มองให้ลึกลงไปในตะกร้ากับข้าวที่เขาจ่ายตลาดมาเท่านั้นก็พอจะเห็นลางได้
          “ความยากจนเป็นดาบสองคมให้เราเลือกพลิกใช้  คมหนึ่งมันสอนให้เราเจียมตัว  รู้จักประมาณตนแต่อีกคมหนึ่งของมันสั่งให้เราทะเยอทะยานหาญเหิม  สุดแต่เราจะเลือกอยู่ในอำนาจบงการของคมใด
          “ความจริงของคนๆ หนึ่งไม่ใช่ความจริงของคนทั้งหมด
          “คนที่มีวิชาติดตัวยากนักที่จะอับจน  แพ้คนยาก  และไม่เสียเปรียบใครด้วย  ถ้าไม่มีวิชาติดตัวเลยจะทำงานสูงๆ  อะไรก็ไม่ได้ต้องเป็นคนหาเช้ากินค่ำ  ติดอยู่กับดินกับทรายตลอดชีวิต  พยายามเรียนไปเถอะหยก  หมดสมองที่จะเรียนเมื่อไรค่อยหยุด
          “ฉันไม่เคยริษยาใครก็เพราะได้เรียนรู้จากก๋งว่า  คนเราเมือเกิดมาต่างสิ่งแวดล้อม  ต่างโอกาสและฐานะ  องค์ประกอบของชีวิตก็ต้องแผกกันออกไป
          “สิ่งที่เห็นเมื่อวานหรือวันนี้  พอถึงพรุ่งนี้มันก็จะเปลี่ยนไปเพียงแต่ช้าหรือเร็ว  เพียงบางส่วนหรือโดยสิ้นเชิงเท่านั้นเอง  ไม่มีใครเหนี่ยวรั้งความเปลี่ยนแปลงไว้ได้หรอก
          “เกิดเป็นคนทั้งทีต้องให้มีคนรัก  คนที่มีแต่ศัตรูหรือมีแต่คนชิงชังรังเกียจจะหาความสุขไม่ได้หรอกในชีวิตเขา  เพราะจะถูกสาปแช่งถูกปองร้ายอยู่ตลอดเวลา  ตัวเองก็มีความหวาดระแวงไม่สบายใจ  ผิดกับคนดีที่ได้รับคำยกย่องสรรเสริญซึ่งเป็นเหมือนปุ๋ยที่ทำให้ชีวิตเจริญงอกงามยิ่งๆขึ้น
          “ในตลาดของเราแห่งนี้มีชีวิต  ชีวิตที่ผกผันยิ่งกว่านิยาย  และชีวิตที่ราบเรียบ  จืดชืดเสียจนไม่มีใครจดจำนำไปเล่าสืบทอดให้ฟังต่อๆกันไปอีก  แต่มันก็เป็นชีวิตที่คนเราแต่ละคนต้องประสบพบพานอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงให้พ้นได้  จะมีก็แต่เพียงว่า  ใครจะโชคดีหรือโชคร้ายบนเวทีแห่งนิยายชีวิตเท่านั้น

วรรณกรรม " ลูกอีสาน "


                        

                    ลูกอีสาน เป็นการนำเอาเรื่องราว จากประสบการณ์ ที่ผู้เขียนพบเห็น ถ่ายทอดในรูปนิยาย โดยได้เขียนเป็นตอนๆ ประมาณ 36 ตอน เพื่อพิมพ์ลง ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย ช่วงปีพ.ศ.2518-2519 ลูกอีสาน ใช้วิธีการเล่าเรื่องราว โดยผ่านเด็กชายคูน ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ ในถิ่นชนบท ของอีสาน แถบที่จัดได้ว่า เป็นถิ่นที่แห้งแล้ง แห่งหนึ่งของไทย ผู้เขียนได้เล่าถึง ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจน ความเชื่อของชาวอีสาน รวมไปถึง การบรรยาย ถึงสภาพความเป็นไป ตามธรรมชาติ ของผู้คน และสภาพแวดล้อม เช่น การเกี้ยวพาราสีกัน ของทิดจุ่น และพี่คำกอง จนท้ายที่สุด ก็ได้แต่งงานกัน การออกไปจับจิ้งหรีดของคูน การเดินทางไปหาปลา ที่ลำน้ำชี เพื่อนำปลามาทำอาหาร และเก็บถนอม เอาไว้กินนานๆ ด้วยการทำปลาร้า เป็นต้น นอกจากนั้น ยังแทรกความสนุกสนาน เพลิดเพลิน จากการทำบุญ ตามประเพณี ไว้หลายตอน ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การจ้างหมอลำหนู ซึ่งเป็นหมอลำ ประจำหมู่บ้าน ลำคู่กับหมอลำฝ่ายหญิง ที่ว่าจ้างมาจากหมู่บ้านอื่น ทั้งกลอนลำ และการแสดงออก ของหมอลำทั้งสอง สร้างความสนุกสนาน ครึกครื้น แก่ผู้ชมที่มาเที่ยวงาน อย่างมาก ลูกอีสาน เป็นการถ่ายทอดเรื่องราว จากประสบการณ์ ด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา และแสดงให้เห็นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของชาวอีสานว่า ต้องเผชิญ กับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ ที่จะอดทน เพื่อเอาชนะ กับความยากแค้น ตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้ออารี ที่มีให้กันในหมู่คณะ ความเคารพ ในระบบอาวุโส สิ่งเหล่านี้ ปรากฏอยู่ในแต่ละตอน ของลูกอีสาน รวมทั้ง การแทรกอารมณ์ขัน ลงไปด้วย

ประเทศในตะวันออกกลาง



บาห์เรน                           เมืองหลวงคือ                   มานามา
อียิปต์                             เมืองหลวงคือ                   ไคโร
อิหร่าน                            เมืองหลวงคือ                   เตหะราน
ตุรกี                                เมืองหลวงคือ                   อังการา
อิรัก                                เมืองหลวงคือ                   แบกแดด
อิสราเอล                         เมืองหลวงคือ                   เยรูซาเล็ม
จอร์แดน                          เมืองหลวงคือ                   อัมมาน
คูเวต                              เมืองหลวงคือ                   คูเวตซิตี้
เลบานอน                        เมืองหลวงคือ                   เบรุต
โอมาน                           เมืองหลวงคือ                   มัสกัต
กาตาร์                            เมืองหลวงคือ                   โดฮา
ซาอุดีอาระเบีย                 เมืองหลวงคือ                   ริยาด
ซีเรีย                              เมืองหลวงคือ                   ดามัสกัส
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์         เมืองหลวงคือ                   อาบูดาบี
เยเมน                             เ
มืองหลวงคือ                  ซานา
และดินแดนปาเลสไตน์ (เวสต์แบงก์และฉนวนกาซา)


รางวัลโนเบล

         รางวัลโนเบลเป็นความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดนผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์ ซึ่งรู้สึกเสียใจจากการที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เขาจึงมอบ 94% ของทรัพย์สินมาให้เป็นเงินทุนในรางวัลโนเบล 5 สาขา (เคมี, การแพทย์, วรรณกรรม, สันติภาพ และฟิสิกส์)
สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์นั้น ได้เพิ่มเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) โดยธนาคารแห่งชาติสวีเดน โดยชื่ออย่างเป็นทางการคือ Bank of Sweden Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel (รางวัลธนาคารกลางสวีเดน สาขาเศรษฐศาสตร์ ในความทรงจำถึง อัลเฟรด โนเบล) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Nobel Memorial Prize in Economics โดยผู้ตัดสินรางวัลคือ Royal Swedish Academy of Sciences. เนื่องจากรางวัลนี้ไม่ได้อยู่ในความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล ดังนั้นจึงไม่ได้รับเงินรางวัลจากมูลนิธิโนเบล แต่ได้รับเงินจากธนาคารกลางสวีเดน อย่างไรก็ตาม รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับรางวัลในสาขาอื่น ๆ การมอบรางวัลนี้ ก็จะมอบในวันเดียวกันกับรางวัลโนเบลสาขาอื่น โดยมีกษัตริย์สวีเดนเป็นผู้มอบตั้งแต่ปี 1902 เป็นต้นมา ได้รับเหรียญตรา และจำนวนเงินเท่าเทียมกัน ซึ่งในตอนแรกนั้นกษัตริย์ออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดนทรงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการมอบรางวัลที่สำคัญสูงสุดระดับประเทศนี้ให้กับคนต่างชาติ แต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยเนื่องจากทรงเล็งเห็นว่ารางวัลที่สำคัญนี้จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ


รางวัลซีไรต์ คือ...


           เมื่อต้นปี พ.ศ. 2522 ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ลได้ริเริ่มรางวัลนี้ เนื่องจากโรงแรมโอเรียนเต็ลมีประวัติเกี่ยวข้องกับนักเขียนชั้นนำของโลกมาเป็นเวลาช้านาน จะเห็นได้จากการที่อาคารเก่าแก่ของโรงแรมที่ชื่อว่า "ตึกนักเขียน" (AUTHORS’ RESIDENCE) อันประกอบด้วยห้องชุดพิเศษ โดยใช้ชื่อนักเขียนคนสำคัญที่เคยมาพัก ได้แก่ ซอมเมอร์เซ้ท มอห์ม โนเอล โฆเวิด โจเซฟ คอนราด และเจมส์ มิเชนเนอร์ นอกจากนี้ยังมีห้องชุดเกรแฮม กรีน จอห์น เลอ คาร์เร่ และ บาร์บาร่า คาร์ทแลนด์ ในตึกริเวอร์วิงด้วย

           ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ล จึงได้ร่วมปรึกษากับ บริษัท การบินไทย และกลุ่มบริษัทในเครืออิตัลไทย จัดตั้งรางวัลวรรณกรรมนี้ขึ้น โดยมีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร ทรงเป็นประธานและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย หัวข้อในการหารือในครั้งนั้น คือ การส่งเสริมสนับสนุนนักเขียนในกลุ่มอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ไทย และการเผยแพร่ให้โลกรู้ถึงวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของภูมิภาคนี้ ต่อมาได้มีประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนทยอยเข้าร่วมงานซีไรต์จนครบสิบประเทศดังนี้ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม  ประเทศบรูไนดารุสซาลัมเข้าร่วมเมื่อปี 2529 ประเทศเวียดนามเข้าร่วมเมื่อปี 2539 ประเทศลาว และพม่าเข้าร่วมเมื่อปี 2541 ประเทศกัมพูชาเข้าร่วมเมื่อปี 2542 


วัตถุประสงค์มีดังนี้ คือ

*เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน
*เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่งกลุ่มประเทศอาเซียน
*เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะ ทางวรรณกรรมของนักเขียนผู้สร้างสรรค์
*เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไปในกลุ่มประเทศอาเซียน


กฎเกณฑ์การเลือกสรรงานวรรณกรรม มีดังนี้ คือ

*เป็นงานเขียนภาษาไทย

*เป็นงานริเริ่มของผู้เขียนเอง มิใช่งานแปลหรือแปลงจากของผู้อื่น

*ผู้เขียนยังมีชีวิตอยู่ขณะส่งงานเข้าประกวด

*เป็นงานตีพิมพ์เผยแพร่ (มี ISBN) เป็นเล่มครั้งแรกย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ภายในวันสิ้นกำหนดส่งงาน

*งานวรรณกรรมที่เคยได้รับรางวัลอื่นใดในประเทศไทยมาแล้วจะส่งเข้าพิจารณาอีกก็ได้

*รางวัลที่ตัดสินในแต่ละปีจะสลับประเภทของวรรณกรรม เป็น นวนิยาย กวีนิพนธ์ และเรื่องสั้น


รางวัลประกอบด้วย

*แผ่นโลหะจารึกเป็นอนุสรณ์เกียรติประวัติ

*นักเขียนไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์มีสิทธิเลือกไปเที่ยวประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยผู้จัดจะเป็นผู้ออกค่าเดินทาง ค่าที่พัก และอาหาร ทั้งหมด สามารถใช้สิทธิภายในระยะเวลา 1 ปี

*นักเขียนกลุ่มประเทศอาเซียน 9 ประเทศ มารับรางวัลพร้อมกับทัศนาจรที่ประเทศไทยกับนักเขียนซีไรต์ไทย เป็นเวลา 1 สัปดาห์

*เงินสด 


รายชื่อนักเขียนชาวไทย ผู้ได้รับรางวัลซีไรต์ เรียงลำดับตามปีที่ได้รับรางวัล


ปี พ.ศ.นักเขียนประเภทชื่อเรื่อง
พ.ศ. 2522คำพูน บุญทวีนวนิยายลูกอีสาน
พ.ศ. 2523เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์กวีนิพนธ์เพียงความเคลื่อนไหว
พ.ศ. 2524อัศศิริ ธรรมโชติรวมเรื่องสั้นขุนทอง เจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง
พ.ศ. 2525ชาติ กอบจิตตินวนิยายคำพิพากษา
พ.ศ. 2526คมทวน คันธนูบทกวีนาฎกรรมบนลานกว้าง
พ.ศ. 2527วาณิช จรุงกิจอนันต์เรื่องสั้นซอยเดียวกัน
พ.ศ. 2528กฤษณา อโศกสินนวนิยายปูนปิดทอง
พ.ศ. 2529อังคาร กัลยาณพงศ์บทกวีปณิธานกวี
พ.ศ. 2530ไพฑูรย์ ธัญญาเรื่องสั้นก่อกองทราย
พ.ศ. 2531นิคม รายยวานวนิยายตลิ่งสูง ซูงหนัก
พ.ศ. 2532จิระนันท์ พิตรปรีชาบทกวีใบไม้ที่หายไป
พ.ศ. 2533อัญชันรวมเรื่องสั้นอัญมณีแห่งชีวิต
พ.ศ. 2534มาลา คำจันทร์นวนิยายเจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน
พ.ศ. 2535ศักดิ์ศิริ มีสมสืบบทกวีมือนั้นสีขาว
พ.ศ. 2536ศิลา โคมฉายเรื่องสั้นครอบครัวกลางถนน
พ.ศ. 2537ชาติ กอบจิตตินวนิยายเวลา
พ.ศ. 2538ไพวรินทร์ ขาวงามบทกวีม้าก้านกล้วย
พ.ศ. 2539กนกพงศ์ สงสมพันธุ์เรื่องสั้นแผ่นดินอื่น
พ.ศ. 2540วินทร์ เลียววาริณนวนิยายประชาธิปไตยบนเส้นขนาน
พ.ศ. 2541แรคำ ประโดยคำบทกวีในเวลา
พ.ศ. 2542วินทร์ เลียววาริณเรื่องสั้นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน
พ.ศ. 2543วิมล ไทรนิ่มนวลนวนิยายอมตะ
พ.ศ. 2544โชคชัย บัณฑิต'บทกวีบ้านเก่า
พ.ศ. 2545ปราบดา หยุ่นเรื่องสั้นความน่าจะเป็น
พ.ศ. 2546เดือนวาด พิมวนานวนิยายช่างสำราญ
พ.ศ. 2547เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์กวีนิพนธ์แม่น้ำรำลึก
พ.ศ. 2548บินหลา สันกาลาคีรีเรื่องสั้นเจ้าหงิญ
พ.ศ. 2549งามพรรณ เวชชาชีวะนวนิยายความสุขของกะทิ
พ.ศ. 2550มนตรี ศรียงค์บทกวีโลกในดวงตาข้าพเจ้า
พ.ศ. 2551วัชระ สัจจะสารสินรวมเรื่องสั้นเราหลงลืมอะไรบางอย่าง”

23/9/55

ประวัติ " แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ "


                

                      แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีนามจริงว่า นางเกลียว เสร็จกิจ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พุทธศักราช 2490 ที่ ต.วงน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายอัง และนางปลด เสร็จกิจ มีพี่น้อง 3 คน สมรสกับนายเสวี ธราพร มีบุตร 3 คน เป็น ชาย 1 คน และหญิง 2 คน เป็นผู้ที่มีความสนใจทางด้านการร้องเพลงพื้นบ้านมาตั้งแต่ปี๒๕๐๕ ขณะที่อายุประมาณ ๑๕ ปี โดยมีความชื่นชม และเฝ้าติดตามการขับร้องเพลงของแม่บัวผัน จันทร์ศรี (ศิลปินแห่งชาติ) และครูไสว วงษ์งาม อย่างใกล้ชิดและในที่สุดก็ได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อฝึกฝนการขับร้องเพลงกับครูเพลงทั้ง 2 ท่าน ด้วยความเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ในทางการขับร้อง กอปรด้วยความมีไหวพริบปฏิภาณ และน้ำเสียงอันเป็นเลิศ อีกทั้งมีความมานะพยายามไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ทำให้แม่ขวัญจิตสามารถเรียนรู้วิธีการขับร้องเพลงพื้นบ้านประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงอีแซว จากแม่บัวผัน และเพลงแนวผู้ชายจากครูไสวได้เป็นอย่างดีภายในระยะเวลาไม่นาน แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ไม่เพียงมีความสามารถในด้านการขับร้องเพลงพื้นบ้านเท่านั้น ท่านยังมีความสามารถในการแต่งเพลงอีแซวได้อย่างเป็นเลิศอีกด้วย เนื่องจากท่านมีความรักในด้านการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วรรณคดีไทยเป็นพิเศษ จึงสามารถจดจำลีลาการประพันธ์และเค้าโครงเรื่องเหล่านั้นมาประพันธ์เป็นเพลงอีแซวได้อย่างไพเราะงดงาม แม่ขวัญจิตได้ออกตระเวนเล่นเพลงอีแซวเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และหาความรู้กับครูเพลงพื้นบ้านอีกหลายท่าน ทำให้ความสามารถของท่านพัฒนาขึ้นโดยลำดับจนเริ่มมีชื่อเสียง จากนั้นในช่วงประมาณปี 2510 ก็ได้หันไปสนใจการขับร้องเพลงลูกทุ่ง โดยได้เข้าเป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งในวงดนตรีของครูจำรัส สุวคนธ์ และวงดนตรีของ ครูไวพจน์ เพชรสุพรรณ ตามลำดับ จนมีชื่อเสียงโด่งดัง เพลงลูกทุ่งที่ร้องอัดแผ่นเสียงเป็นเพลงแรกคือ เพลงเบื่อสมบัติ ตามด้วยเพลงดังอื่นๆ เช่น ลาน้องไปเวียดนาม ขวัญใจคนจน แม่ครัวตัวอย่าง ฯลฯ จากนั้นก็ได้แต่งเพลงเองอันได้แก่เพลง กับข้าวเพชฌฆาต น้ำตาดอกคำใต้ สาวสุพรรณ เป็นต้น เมื่อประสบความสำเร็จมีชื่อเสียง อย่างกว้างขวางแล้ว ก็ได้จัดตั้งวงดนตรีลูกทุ่งของตนเองขึ้น โดยใช้ชื่อว่าวงขวัญจิต ศรีประจันต์ ซึ่งท่านได้นำเอาระบบแสง สี เสียง อันทันสมัยน่าตื่นตาตื่นใจมาใช้ในการแสดง อีกทั้งได้ประยุกต์เพลงอีแซว มาผสมผสานเข้ากับเพลงลูกทุ่งได้อย่างกลมกลืมทำให้ได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ได้ใช้ชีวิตอยู่ในวงการเพลงลูกทุ่งจนกระทั่งถึงปี ๒๕๑๖ จึงได้ยุบวงแล้วหันกลับไปฟื้นฟูเพลงอีกแซวอีกครั้ง โดยในการกลับมา
ครั้งนั้น ท่านได้ตั้งใจ อย่างแน่วแน่ที่จะอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่ศิลปะพื้นบ้านแขนงนี้อย่างจริงจัง โดยนอกจาก การแสดงแล้ว ท่านยังอุทิศตนในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ โดยได้ไปบรรยายและสาธิตการแสดงเพลงพื้นบ้านในสถานศึกษาต่างๆ ตั้งแต่ระดับโรงเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย และยังคงปฏิบัติเช่นนี้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากจะเป็นศิลปินเพลงพื้นบ้านและเพลงลูกทุ่งที่มีความสามารถสูงยิ่งแล้ว แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ยังเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมด้วยคุณธรรมอย่างน่าสรรเสริญ ตลอดชีวิตของการเป็นนักร้องเพลงพื้นบ้านและเพลงลูกทุ่ง ท่านได้อุทิศตนช่วยเหลืองานบุญงานกุศลต่างๆ มิเคยว่างเว้นทั้งงานราษฎร์ และงานหลวง อาทิ การช่วยรณรงค์เพื่อปราบปรามยาเสพย์ติด การรณรงค์ในเรื่องปัญหาโรคเอดส์ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติต่างๆ และการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรด้านเพลงพื้นบ้านที่วิทยาลัยนาฎศิลปสุพรรณบุรี และสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี และถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ที่สนใจได้สืบสานเพลงพื้นบ้านไว้เป็นจำนวนมากนับเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ที่มีทั้งความสามารถในด้านเพลงพื้นบ้านอย่างลึกซึ้ง และเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมผู้ได้บำเพ็ญประโยชน์เป็นอเนกประการต่อสังคม นับเป็นศิลปินที่ชาวสุพรรณบุรีภาคภูมิใจที่สุดท่านหนึ่ง
เกียรติยศ
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะ(เพลงพื้นบ้าน) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับคัดเลือกเป็นสื่อพื้นบ้านดีเด่นของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางและสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพย์ติด
พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น นักร้องดีเด่นกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ ๒ จากเพลงกับข้าวเพชฌฆาต รับพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจัดงานโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับโล่เกียรติคุณ ฐานะนักร้องลูกทุ่งดีเด่นของ จ.สุพรรณบุรี พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับการประกาศเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน- อีแซว)
ผลงานภาพยนตร์
เพลงสวรรค์นางไพร (2514) , จำปาทอง (2514) , น้องนางบ้านนา , จำปาสี่ต้น , กลัวเมีย , บุหงาหน้าฝน (2515) , อยากดัง
มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. นอกจากนั้นยังเคยร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ที่เป็นเพลงเด่นๆหลายเพลง อาทิ
คิดถึงคนอยากดัง” , “รักชั่งกิโล” , “ผัวหายฯลฯ
ผลงานการขับร้องเพลง
ผลงานการขับร้องเพลงด้านต่างๆ ของแม่ขวัญจิต ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนอกจาก ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกมากมาย แบ่งออกเป็นเพลงหลายประเภทดังนี้
ประเภทเพลงลูกทุ่ง ได้แก่ เพลงเศรษฐีสุพรรณ ก็นั่นนะซิ วุ้ยว้าย นางครวญ อ้อมอกเจ้าพระยา อายบาปอายบุญ ปิดทองพระ แห่ผ้าป่า แฟนหนังเร่ เสียงครวญจากชาวประชา ชวนน้องกลับอีสาน กับข้าวเพชฌฆาต ฯลฯ
ประเภทเพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงชุดปัญหาหัวใจ อานิสงส์ทอดกฐิน ประเพณีไทย น้ำตาหมอนวด ประวัติเมืองสุพรรณ อีแซวประยุกต์ พระมาลัยโปรดนรก พระคุณพ่อแม่ อานิสงส์บรรพชา ประเพณีแต่งงาน เต้นกำรำเคียวเกี่ยวมดตะนอย ฯลฯ
ประเภทเพลงแหล่ ได้แก่ แหล่มัทรีเดินดง แหล่ประวัตินาค แหล่กัญหาชาลี แหล่ทำขวัญนาค แหล่ถาม-ตอบพิธีแต่งขันหมาก แหล่ถาม-ตอบเรื่องการแต่งาน ฯลฯ

ประวัติ " ศรคีรี ศรีประจวบ "


            

              สงอม ทองประสงค์ หรือ ศรคีรี ศรีประจวบ  เกิดวันที่ 4 มีนาคม 2487 ที่บ้านเลขที่ 13 บ้านหนองอ้อ ต. บางกระบือ อ.บางคณที จ.สมุทรสงคราม มีชื่อเล่นว่าน้อย เป็นบุตรนายมั่ง นางเชื้อ ทองประสงค์ ครอบครัวมีอาชีพทำน้ำตาลปี๊บมีพี่น้อง 6 คน เขาเป็นคนสุดท้อง เรียนจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนพรหมสวัสดิ์สาธร   หลังจบการศึกษาก็มาช่วยครอบครัวปาดตาล (มะพร้าวโดย ระหว่างที่พักเหนื่อยอยู่บนยอดมะพร้าวก็มักจะร้องเพลงอยู่บนนั้น จนหายเหนื่อยแล้วค่อยทำงานต่อ เพลงที่ชอบร้องก็มี "เสือสำนึกบาป" , "ชายสามโบสถ์" เพราะตอนนั้นเพลงของ คำรณ สัมบุณนานนท์ กำลังฮิต ตอนนั้นเขาอยากเป็นนักร้องใจแทบขาด เวลาวงดนตรีของครู พยงค์ มุกดา มาแสดงใกล้บ้าน เขาก็ไปสมัครร้องเพลง แต่พอร้องให้ครูพยงค์ฟัง แกก็บอกว่าให้ไปหัดร้องมาใหม่ เขาพยายามอยู่ 2 ครั้ง ครูพยงค์ก็บอกว่ายังไม่ดี เขาเลยท้อและเลิกไปเอง จากนั้นพออายุ 20 ปี บวชได้พรรษาหนึ่งก็สึก ตอนนั้นพ่อแม่เขาไปซื้อไร่ทำสัปปะรดที่ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เขาก็เลยย้ายไปที่นั่น  แต่ ประวัติอีกกระแสบอกว่า เพราะรักครั้งแรกเป็นพิษขณะที่บวช เมื่อว่าที่พ่อตาให้ลูกสาวแต่งงานกับชายอื่น เขาจึงเตลิดหนีออกจากบ้านมาอยู่กับพี่ชายที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยพี่ชายแบ่งไร่สับปะรดให้ทำ  จะอย่างไรก็ตาม ที่นี่ เขาได้เริ่มร้องเพลงอีกครั้ง โดยเข้าประกวดร้องเพลงตามงานวัด และคว้ารางวัลมากมาย จนเพื่อนชื่อ พยงค์ วงศ์สัมพันธ์ ชวนให้ร่วมวงที่เช่าเครื่องดนตรี และจ้างครูดนตรีจากที่ค่าย "ธนะรัชต์" มาสอน เพื่อสร้างความสนุกในหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อคนรู้จักมากขึ้น จึงตั้งวง "รวมดาววัยรุ่น" ที่ต่อ มาเปลี่ยนชื่อเป็น "รวมดาวเมืองปราณ" รับงานแสดงทั่วไปตามบ้านที่ขายสับปะรดได้โดยไม่คิดเงินทอง ตอนนั้นศรคีรีร้องเพลงแบบรำวง และใช้ชื่อ "พนมน้อย" เพราะร้องเพลงของ พนม นพพร และศักดิ์ชาย วันชัย ต่อมาได้นำวงมาแสดงในงานปีใหม่ของจังหวัด "ประหยัด สมานมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ฟังเสียง และเห็นหน้าก็รักใคร่ชอบพอ จึงเปลี่ยนชื่อให้เป็น ศรคีรี ศรีประจวบ  หลังจากนั้น วิจิตร ฤกษ์ศิลป์วิทยา คนอยู่ใกล้บ้านกันให้การสนับสนุนเพื่อสร้างวงดนตรีแข็งแรงขึ้นและพากันเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเช่าเวลารายการวิทยุยานเกราะจาก จำรัส วิภาตะวัธ พวกเขาวิ่งขึ้นล่องกรุงเทพฯ - ประจวบฯอยู่บ่อยๆ และก็ได้พบกับ เพลิน พนาวัลย์ ที่พาเขาไปพบ ครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่บ้าน ตามคำขอร้องของศรคีรี เพื่อขอเพลงมาร้อง ภูพาน เพชรปฐมพร นักร้องที่ใกล้ชิดกับศรคีรีในวง รวมดาววัยรุ่น เล่าว่า ตอนไปขอเพลง ตอนนั้นครูมีนักร้องที่ดังมากคือ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ เป็นลูกศิษย์เอกอยู่ ศรคีรีก็ร้องเพลงแนวเดียวกันกับรุ่งเพชร ครูไพบูลย์ก็จึงไม่ให้เพลง เขาจึงต้องเทียวไปเทียวมาอยู่หลายครั้ง จนครูใจอ่อน ประกอบกับตอนนั้นครูไพบูลย์ ผิดใจกับรุ่งเพชรด้วย  เพลง แรกที่ได้มาคือ น้ำท่วม ตอนที่บันทึกเพลงนี้ น้ำเกิดท่วม จ. ประจวบคีรีขันธ์พอดี เสียหายอย่างมาก สับปะรดถูกน้ำท่วมทั้งหมด นอกจากนั้น ครูก็ยังให้เพลงมาอีก 3 เพลง คือ "บุพเพสันนิวาส" , "แม่ค้าตาคม" , "วาสนาพี่น้อย" สำหรับการบันทึกเสียงครั้งแรกนั้น ชุดแรกมีทั้งหมด 6 เพลง คือ น้ำท่วม, บุพเพสันนิวาส, วาสนาพี่น้อย, แม่ค้าตาคม, พอหรือยัง และบางช้าง งานนี้ ศรคีรี เปลี่ยนสภาพจากนักร้องเพลง รำวง มาเป็น นักร้องเพลงหวานโดยสมบูรณ์ หลังจากเพลง เริ่มเป็นที่รู้จัก ศรคีรีลงมาอยู่กรุงเทพฯ แต่ยังไม่นำวงดนตรีมาด้วย โดยจะนำมาก็แต่เมื่อมีงาน ครั้งแรกในกรุงเทพฯ เขาเปิดการแสดงงานศพน้องชายครูไพบูลย์ที่วัดหลักสี่ บางเขน จากนั้นวงก็เริ่มรับงานในกรุงเทพฯ และเดินสายทั่วประเทศ ซึ่งในการออกเดินสายใต้เป็นครั้ง แรก วงประสบความสำเร็จอย่างงดงามจัดว่าเป็นวงที่มีค่าตัวแพงวงหนึ่ง ช่วงนั้นศรคีรีได้มีโอกาสแสดงหนังของ ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ เรื่อง "มนต์รักจากใจ" ด้วย  ต่อมา ศรคีรีมีชื่อเข้าไปพัวพันคดีสังหารคนในวงการด้วยกัน ชื่อเสียงจึงตกลงไปบ้าง แต่ในที่สุดก็พิสูจน์ตัวเองได้ และกลับมาอีกครั้งในเพลง "ตะวันรอนที่หนองหาร" "อยากรู้ใจเธอ" รักแล้งเดือนห้า" "ลานรักลั่นทม" และ "คิดถึงพี่ไหม" ซึ่งเพลงหลังนี้ ขณะบันทึกเสียงศรคีรีร้องโดยปิดไฟมืด ซึ่งเขาไม่เคยทำมาก่อน เพลงนี้แต่งโดย พยงค์ มุกดา โดย ทิว สุโขทัย เคยร้องไว้เป็นคนแรกและเสียชีวิตไปหลังจากที่ร้องไว้ไม่นาน และเพลงนี้ก็เป็นเพลงสุดท้ายที่ศรคีรีได้บันทึกเสียงไว้ด้วย ก่อน เสียชีวิต ศรคีรีเคยไปทำการแสดงที่โรงหนังเอกมัยราม่า มีคนนำเอาพวงมาลัยดอกไม้สด แต่คาดด้วยผ้าดำแบบที่ทำไว้สำหรับคนตายมอบให้บนเวทีขณะร้องเพลง ศรคีรีรับไว้ด้วยความเกรงใจ เมื่อกลับเข้าหลังเวที ศรคีรีสั่งเลิกการแสดงคืนนั้นทันทีทั้งที่ร้องเพลงได้เพียง 5 เพลง ด้วย วัยแค่ 32 ปี ศรคีรี ศรีประจวบ จากโลกนี้ไปเมื่อ 30 มกราคม 2515 ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน ประมาณ 03.00 - 05.00 น.บริเวณริมถนนสายเอเชีย อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร ขณะเดินทางกลับจากการแสดงที่วัดหน้าพระธาตุ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อเปิดทำการแสดงที่วัดภาษี เอกมัย ในตอนค่ำ คาดว่าคนขับรถของศรคีรีเกิดง่วงนอน จึงจอดรถเก๋งโตโยต้าคราวน์ข้างทางเพื่อพักสักงีบ แต่ปรากฏว่ารถบรรทุกไม้ วิ่งมาด้วยความเร็วสูงประกอบกับบริเวณนั้นเป็นสะพานสูง เมื่อรถบรรทุกไม้วิ่งมาด้วยความเร็ว เมื่อถึงสะพานก็ทำให้รถกระโดดเสียหลัก ขึ้นไปทับรถของศรคีรี ทำให้เขาเสียชีวิตคาที่ หลัง แสดงวันนั้น ลูกวงได้ออกเดินทางมายังจุดนัดพบที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งก่อน แต่หลังจากที่ลูกวงรออยู่นาน หัวหน้าวงยังเดินทางมาไม่ถึง จึงออกเดินทางต่อ แต่วิ่งไปสักระยะหนึ่ง ก็มีรถพลเมืองดีวิ่งไล่ตามและเรียกให้จอด เพื่อแจ้งข่าวเรื่องการประสบอุบัติเหตุของรถของศรคีรี หลังพบใบปลิวการแสดงปลิวออกจากรถศรคีรีเกลื่อนกลาด หลังรถบัสวิ่งกลับไปก็พบศพดังกล่าว ข้อมูลบางแหล่งบอกว่า ศรคีรี เสียชีวิตประมาณ 8.00 น.ซึ่งเวลาดังกล่าวน่าจะเป็นเวลาพบศพมากกว่า ก่อนเสียชีวิต ศรคีรี สมรสแล้ว โดยมีบุตรธิดารวม 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1 ชื่อ สมศักดิ์ ชนัญญา และสันติ
ครูไพบูลย์ บุตรขัน เคยเขียนไว้อาลัยการจากไปของศรคีรีว่า "แด่สุดรัก เธอเกิดมาเป็นผู้กล่อมโลก ฉันเป็นผู้
ถ่ายทอดอารมณ์ บัดนี้เธอจากโลกไปแล้วเหลือเพียงเสียงเพลง ศรคีรี ศรีประจวบ ฉันเสียดาย เสียดายจริงๆ เพราะเธอควรจะอยู่กล่อมโลกให้นานกว่านี้ "

ประวัติ " ครูหวังเต๊ะ "


                       

                นายหวังดี นิมา หรือ เป็นที่รู้จักกันดีว่า หวังเต๊ะเกิดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2468 ปัจจุบันพักอาศัย ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้มีความสามารถเป็นเลิศ ด้านศิลปะเพลงพื้นบ้าน มีความชำนาญเป็นพิเศษในการแสดงลำตัด โดยตั้งชื่อคณะว่า ลำตัดหวังเต๊ะรับงานแสดงเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบันกว่า 40 ปี จนชื่อหวังเต๊ะแทบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ ของลำตัด กล่าว ได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดศิลปะ การแสดงพื้นบ้าน ให้ยืนยงอยู่ได้อย่างน่า ภาคภูมิใจยิ่ง  นอกจากนั้น ครูหวังเต๊ะ ยังเป็นศิลปินผู้มีคุณธรรมได้ใช้ศิลปะการแสดงเป็นสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์ตลอดมา ทั้งได้ถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก้ทั้งบุคคลในคณะและสถาบันต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ นับได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปิน ที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ ทั้งด้านสร้างสรรค์และอนุรักษ์ศิลปะ อันเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทย มาตลอด ระยะเวลายาวนาน จนได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี 2531 ในบั้นปลายชีวิต ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จนกระทั่งถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ก็ถึงแก่กรรม สิริอายุได้ 87 ปี


7/9/55

Mes repas.


            Je me lève à 6:15. Mon petit déjeuner aujourd'hui est un oeuf sur le plat, jambon cuit 2 pièces, 2 pièces de saucisse et 2 verres de lait.Ce repas, c'est bon ! Parce que ma mère a fait. Après un déjeuner, j'ai mangé du riz avec mélanger le porc frite avec du basilic et de squash soupe. Et le dîner, je mange des boulettes de viande cuites à la vapeur et boire du thé vert. Voici les repas que je mange.

17/8/55

วันแม่ เกิดขึ้นได้อย่างไร...

                   ว่ากันว่าวันแม่นั้นถูกกำหนดขึ้นโดยชาวอเมริกัน โดยผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ก็คือ 

แอนนา เอ็ม จาร์วิส คุณครูของโรงเรียนแห่งหนึ่งในรัฐฟิดาเดลเฟีย เธอได้ใช้เวลาเรียกร้องถึง 2 ปี จน

ประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1914 ( พ.ศ. 2457 ) ในสมัยประธาณาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้

ถือวันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคมเป็ฯวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่แห่งชาติของชาว

อเมริกันก็คือ ดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือ

ประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้ว ให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว  

              

13/8/55

La devise

La devise de Bangkok 

(คำขวัญกรุงเทพมหานคร)


             " กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งานเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย "

                







La devise de Hua Hin 

(คำขวัญหัวหิน)


              " ท่องเที่ยวหัวหิน แวะถิ่นมนต์ขลัง ทะเลสวย นักมวยดัง พระราชวังงดงาม "







La devise de Prachuapkhirikhan 

(คำขวัญประจวบคีรีขันธ์)



              " เมืองทองเนื้อเกล้า มะพร้าวสับปะรด สวยสดหาดเขาถ้ำ 
งามล้ำน้ำใจ "




                 

Du tourisme à Hua Hin

             La première place est au marché Plearn Wan est modélisé à ressembler à vieux. Me fait penser à l'atmosphère ancienne. Puis le temple Huai Mongkon pour respecter sa volonté. Ensuit, allez au marché flottant de Sampannam et Hua Hin. Puis visité de la gare Hua Hin. Plus tard allez à la plage Hua Hin pour nataion et la détente. La soirée de marché de la nuit.


4/8/55

Drapeau de la france

         
ธงชาติฝรั่งเศส

           
           ธงชาติฝรั่งเศสถือว่าเป็นธงต้นแบบที่หลายๆ ประเทศนำมาดัดแปลงเป็นธงชาติของตนเอง รวมทั้งธงชาติไทยด้วย ลักษณะของธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ประกอบด้วยริ้วธง 3 สี คือ สีน้ำเงิน สีขาว และสีแดง เรียงกันตามแนวตั้ง แต่ละริ้วมีความกว้างเท่ากัน สำหรับธงค้าขายและธงรัฐนาวีฝรั่งเศสนั้นคล้ายกับธงชาติ แต่สัดส่วนความกว้างของริ้วธงแต่ละสีจะเป็น 30 : 33 : 37 
          
           ธงนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติฝรั่งเศส ตามมาตราที่ 2 แห่งรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. 2501 ส่วนสีธงชาติแบบมาตรฐานนั้น กำหนดขึ้นในสมัยที่นายวาเลรี ยิสการ์ด เดส์แตง เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส แต่เดิมธงนี้มีที่มาจากธงสีแดงและสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีธงประจำกรุงปารีส และธง
สีขาว ซึ่งใช้เป็นธงประจำราชวงศ์ฝรั่งเศส และใช้เป็นธงราชนาวีในยุคกลาง มีความหมายถึงความบริสุทธิ์ สถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศส และยังหมายถึงประเทศฝรั่งเศสด้วย เมื่อเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี 
พ.ศ. 2332 ธงสามสี แดง ขาว และน้ำเงิน ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติที่นิยมแพร่หลายโดยทั่วไป แต่รัฐบาลปฏิวัติฝรั่งเศส ได้รับรองธงนี้ให้ใช้เป็นธงชาติจริง เมื่อปี พ.ศ. 2337 ปัจจุบัน ธงชาติฝรั่งเศส จึงมีความหมายของธงคือ " เสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ "                   

22/7/55

Le Tour de France



              Le Tour de France  
               หรือบางครั้งเรียกว่า  La Grande Boucle  และ  Le Tour  เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศฝรั่งเศส  ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา  3  สัปดาห์  ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี  เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่  ค.ศ. 1903  จนถึงปัจจุบัน ( เว้นการจัดแข่งขันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง )  Le Tour de France  เป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก  เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการใหญ่ที่จัดแข่งขันในยุโรป  รวมแรกว่า  แกรนด์ทัวร์  โดยอีกสองรายการคือ
- Giro d'Italia  จัดในอิตาลี ช่วงเดือนพฤษภาคม - ต้นเดือนมิถุนายน
- Vuelta a Espana  จัดในสเปนช่วงเดือนกันยายน
                การแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี  ค.ศ. 1903  เกิดขึ้นเนื่องจากการท้าทายกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ของฝรั่งเศสชื่อ  L'Auto  มีนักแข่งเข้าร่วมถึงจำนวน  60  คน  แต่สามารถเข้าเส้นชัยได้เพียง  21  คน  ซึ่งกิตติศัพท์ความยากลำบากในการแข่งขัน  ทำให้การแข่งขันนี้เป็นที่สนใจ  และมีผู้ชมการแข่งขันช่วงสุดท้ายในกรุงปารีส  ตามสองฟากถนนระหว่างทางราว  100,000  คน  และกลายเป็นประเพณี  การแข่งขันทุกครั้งจะไปสิ้นสุดที่ประตูชัย  จตุรัสเดอเลตวล  ปารีส
               ในปี  ค.ศ.  1910  เริ่มมีการจัดเส้นทางการแข่งขันเข้าไปในเขตเทือกเขาแอลป์  ปัจจุบันเส้นทางการแข่งขันจะผ่านทั้งเทือกเขาแอลป์  ทางตะวัน  และเทือกเขาพีเรนีสทางตอนใต้ของฝรั่งเศส  การแข่งขันจะแบ่งเป็นช่วงเพื่อเก็บคะแนนสะสม  ผู้ชนะในแต่ละช่วงจะได้รับเสื้อ เพื่อสวมใสในวันต่อไป  โดยมีสีที่เฉพาะสำหรับผู้ชนะในแต่ประเภท  คือ
- สีเหลือง  ( maillot jaune )  สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด
- สีเขียว  ( maillot vert )  สำหรับผู้ชนะในแต่ละสเตจ
- สีขาวลายจุดสีแดง  ( maillot à pois rouges )  สำหรับผู้ชนะในเขตภูเขา  ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า  จ้าวภูเขา  King of the Mountains
- สีขาว  ( maillot blanc )  สำหรับผู้ที่มีคะแนนรวมสูงสุดที่อายุต่ำกว่า  25   ปี
- สีรุ้ง  ( maillot arc-en-ciel )  สำหรับผู้ชนะการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลก  ซึ่งมีกฏว่าจะต้องใส่เสื้อนี้เมื่อแข่งขันในประเภทเดียวกับที่ผู้แข่งนั้นเป็นแชมป์โลกอยู่
- เสื้อแบบพิเศษ  สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด  และชนะการแข่งขันช่วงย่อย  และจ้าวภูเขา

Du samedi 2 au dimanche 24 juillet 2011, le 98e Tour de France comprendra 21 étapes pour une distance de 3,430.5 kilomètres.