26/2/56

SIM คืออะไร

SIM ย่อมาจาก Subscriber Indentity Module เป็นอุปกรณ์ซึ่งใส่ในเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อให้เครื่องสามาถติดต่อกับเครือข่ายได้

หน้าที่ของซิมการ์ด
1.ไม่ได้เก็บหมายเลขเครื่องโทรศัพท์ของเราครับ แต่เก็บหมายเลข IMSI (International Mobile Subscriber Indentity) ซึ่งเป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกับ SIM อื่น ๆ ทั่วโลกหมายเลขนี้จะผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ของเจ้าของ SIM โดยมีฐานข้อมูลเก็บที่ HLR (HLR เป็นเสมือนที่เก็บข้อมูล)

เมื่อผู้ให้บริการได้รับหมายเลข IMSI จำนวนหนึ่ง ก็จะนำหมายเลขนี้ไปผูกกับหมายเลขเครื่องโทรศัพท์โดยเก็บที่ HLR แล้วก็สร้างซิมการ์ดออกขาย ให้เราได้เห็นเป็นเบอร์ต่างๆ
ที่ต้องทำแบบนี้เพื่อสร้างระบบป้องกันการ copySIM
เมื่อ SIM หายหรือทำลายตัวเองลง ท่านยังสามารถ ติดต่อกับ call center เพื่อให้ call center ดึงข้อมูลจาก HLR เพื่อนำมาสร้างซิมการ์ดใบใหม่ให้ ทำให้ใช้เบอร์เดิมได้

2.เก็บรหัสที่ใช้ป้องกันการปลอมแปลง SIM ซึ่งก็คือค่า Ki โดยค่านี้ไม่มีทางอ่านออกมาได้จาก SIM

3.เก็บข้อมูลสำคัญของ ผู้ให้บริการเครือข่าย เช่น ย่านความถี่ใช้งาน , application เสริม

4.เก็บข้อมูลส่วนตัวของเราได้ เช่น phone book

5.เก็บรหัสล๊อค SIM คือ PIN และ PUK

Digital คืออะไร


Digital (ดิจิตอล) การเป็นการอธิบายเทคโนโลยีอีเล็คโทรนิคส์ที่ใช้สร้าง เก็บ และประมวลข้อมูลใน
ลักษณะ 2 สถานะ คือ บวก (positive) และไม่บวก (non-positive) บวก (positive) แสดงด้วย เลข 1 และไม่บวก (non-positive) แสดงด้วย เลข 0 ดังนั้น ข้อมูลส่งผ่าน หรือเก็บด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล เป็นการแสดงด้วยข้อความของ 0 และ 1 แต่ละค่าของตำแหน่งสถานะเหล่านี้ เป็นการอ้างแบบ binary digital

          ก่อนหน้าเทคโนโลยีดิจิตอล การส่งผ่านอีเล็คโทรนิคส์ถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีอะนาล๊อก ซึ่งนำส่งข้อมูลเป็นสัญญาณอีเลคโทรนิคส์ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของความถี่ หรือความสูงซึ่งเพิ่มเข้าสู่คลื่นตัวนำที่ให้ความถี่ การส่งผ่านการกระจาย และโทรศัพท์แบบดั้งเดิม ใช้เทคโนโลยีอะนาล็อค เทคโนโลยีดิจิตอล ได้รับการใช้ในตัวกลางการสื่อสารทางกายภาค เช่นการส่งผ่านด้วยดาวเทียม และไฟเบอร์อ๊อปติค โมเด็มใช้ในการแปลงสัญญาณโทรศัพท์ ให้เป็นสารสนเทศดิจิตอล สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์

1/12/55

วรรณกรรม " อยู่กับก๋ง

ผู้แต่งคือ หยก บูรพา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙
       “อยู่กับก๋งเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนจีนที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยสมัยเริ่มแรก  ความสัมพันธ์ระหว่างคนจีนกับคนไทย  ชีวิตชาวห้องแถวในชนบท  นอกจากนั้นผู้แต่งได้พยายามสอดใส่ทัศนคติต่อชีวิต สังคม วัฒนธรรมการดำเนินชีวิตและอาชีพของคนจีนที่ออกจากแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนมาด้วยความหวังว่าอนาคตจะต้องดีกว่าอดีตและปัจจุบัน


          ชีวิตก๋งบนผืนแผ่นดินไทยเป็นชีวิตของคนธรรมดาสามัญที่จากแผ่นดินบ้านเกิดมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร  ก๋งทำงานเลี้ยงชีพตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างจริงจัง  เอื้อเฟื้อต่อเพื่อนบ้าน  เกรงกลัวและรักษากฎหมายบ้านเมืองไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ารักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและกฎแห่งกรรมตามคติความเชื่อแห่งจีนเก่า  และที่สำคัญก๋งมีความเข้าใจในความเป็นไทย  รักคนไทย  บำเพ็ญตนเยี่ยงพลเมืองดีตลอดชีวิตอันยากไร้  เทิดทูลองค์พระมหากษัตริย์ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  ก๋งได้พยายามถ่ายทอดความสำนึกดังกล่าวให้แก่หยกหลานชายคนเดียวของก๋งและคนอื่นๆ  ตามโอกาสอันควร  ขณะเดียวกันก๋งก็สงวนสิ่งที่ดีงามอันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศบ้านเกิดเมืองนอน เพราะก๋งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและไม่ขัดกับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ก๋งมาอยู่  และหยกจึงเป็นตัวแทนของเด็กชาวจีนที่เกิดในเมืองไทย  เมื่อได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้มีคุณธรรมเช่นก๋ง  หยกจึงเป็นตัวแทนของเด็กไทยเชื้อสายจีนที่ความสำนึกอย่างแน่นแฟ้นว่าเป็นคนไทย
          “ฉันเก็บเครื่องนอนอย่างเรียบร้อยทุกครั้ง  เพราะก๋งพร่ำสอนฉันว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่าต่อชีวิตของเราหมอนเป็นที่รองหัวซึ่งเป็นของสูงสุดในร่างกาย  เสื่อเป็นเครื่องรองให้เราพ้นจากความสกปรกของธุลีดิน  ผ้าห่มให้ความอบอุ่นและมุ้งกันเราให้พ้นจากการรบกวนของสัตว์ประเภทเลื้อยคลานและแมลง
          “คนที่ไม่เป็นระเบียบชีวิตจะยุ่งเหยิง  คนที่ไม่รักความสะอาดจะหาความสดชื่นแจ่มใสไม่ได้  และคนที่ไม่รักความสุจริตชีวิตจะมีมลทิน
          “ไม่ต้องอายที่เป็นคนจน  แต่ควรอายที่เป็นคนเลว  เพราะความจน ความรวยเราเลือกไม่ได้  แต่ความดีความเลวเราเลือกทำ  เลือกเว้นได้
          “เด็กห้องแถวกลางตลาดอย่างฉัน   ก็ต้องหัดทำงานได้สารพัดอย่าง  ไม่ว่างานหนักหรืองานเบา  มันเป็นความจำเป็นโดยมีความจนเป็นนายคอยชี้นิ้วบัญชา  ความดิ้นรนเป็นมือที่คอยผลักดัน ความเพียรเป็นพี่เลี้ยงคอยพยุงไม่ให้ระทดท้อ...
คนที่ร่ำรวยแล้วยังไม่ยอมหยุดนิ่งละเว้นการสะสม  แล้วคนจนๆอย่างเราจะอยู่เฉยๆได้อย่างไร...
เทพเจ้าแห่งโชคดีไม่เคยเอื้อมมือมาแตะหน้าผากอวยชัยคนเกียจคร้านเลย
          “ก๋งเพียรสอนให้ฉันยอมรับความเป็นจริงของชีวิต  มีความมั่นใจในตัวเองและเข้มแข็งต่อการบุกบั่นเพื่อความอยู่รอด  ข้อคิดพื้นๆของก๋งทำให้ฉันเข้าใจฐานะที่แท้จริงของตนเอง  ทำให้ฉันเป็นสุขได้ในความขัดสนจนยากและไม่ท้อแท้
          “คนที่เขารวยได้น่ะเพราะเขามีโอกาสและมีความสามารถไม่ใช่ดวงดีแล้วจะร่ำรวยได้  ก่อนจะสร้างตัวได้สำเร็จเขาจะต้องผ่านการทำงานหนักมาแล้วด้วย  รู้จักหาเงิน  รู้จักเก็บออม  รู้จักคิดหาช่องทางต่อทุน  ฐานะของเขาจึงเป็นปึกแผ่นขึ้นมาได้  ไม่มีใครโชคดีถึงกับนอนขี้เกียจข้างถนนแล้วเทวดาจะโยนถุงเงินลงมาให้ถึงหน้าตัก
          “เขาไม่อยากเป็นเพื่อนกับเราก็ตามใจเขา  แต่อย่าโกรธหรือเกลียดชังเขา  ในโรงเรียนและในตลาดเรายังหาเพื่อนที่จะคบเราอย่างจริงใจได้อีกมากมายขอให้เราเป็นคนดีเท่านั้น
          “ปัจจุบันและอนาคตของบางครอบครัวก็คาดคะเนได้ไม่ยากเลย    เพียงแต่มองให้ลึกลงไปในตะกร้ากับข้าวที่เขาจ่ายตลาดมาเท่านั้นก็พอจะเห็นลางได้
          “ความยากจนเป็นดาบสองคมให้เราเลือกพลิกใช้  คมหนึ่งมันสอนให้เราเจียมตัว  รู้จักประมาณตนแต่อีกคมหนึ่งของมันสั่งให้เราทะเยอทะยานหาญเหิม  สุดแต่เราจะเลือกอยู่ในอำนาจบงการของคมใด
          “ความจริงของคนๆ หนึ่งไม่ใช่ความจริงของคนทั้งหมด
          “คนที่มีวิชาติดตัวยากนักที่จะอับจน  แพ้คนยาก  และไม่เสียเปรียบใครด้วย  ถ้าไม่มีวิชาติดตัวเลยจะทำงานสูงๆ  อะไรก็ไม่ได้ต้องเป็นคนหาเช้ากินค่ำ  ติดอยู่กับดินกับทรายตลอดชีวิต  พยายามเรียนไปเถอะหยก  หมดสมองที่จะเรียนเมื่อไรค่อยหยุด
          “ฉันไม่เคยริษยาใครก็เพราะได้เรียนรู้จากก๋งว่า  คนเราเมือเกิดมาต่างสิ่งแวดล้อม  ต่างโอกาสและฐานะ  องค์ประกอบของชีวิตก็ต้องแผกกันออกไป
          “สิ่งที่เห็นเมื่อวานหรือวันนี้  พอถึงพรุ่งนี้มันก็จะเปลี่ยนไปเพียงแต่ช้าหรือเร็ว  เพียงบางส่วนหรือโดยสิ้นเชิงเท่านั้นเอง  ไม่มีใครเหนี่ยวรั้งความเปลี่ยนแปลงไว้ได้หรอก
          “เกิดเป็นคนทั้งทีต้องให้มีคนรัก  คนที่มีแต่ศัตรูหรือมีแต่คนชิงชังรังเกียจจะหาความสุขไม่ได้หรอกในชีวิตเขา  เพราะจะถูกสาปแช่งถูกปองร้ายอยู่ตลอดเวลา  ตัวเองก็มีความหวาดระแวงไม่สบายใจ  ผิดกับคนดีที่ได้รับคำยกย่องสรรเสริญซึ่งเป็นเหมือนปุ๋ยที่ทำให้ชีวิตเจริญงอกงามยิ่งๆขึ้น
          “ในตลาดของเราแห่งนี้มีชีวิต  ชีวิตที่ผกผันยิ่งกว่านิยาย  และชีวิตที่ราบเรียบ  จืดชืดเสียจนไม่มีใครจดจำนำไปเล่าสืบทอดให้ฟังต่อๆกันไปอีก  แต่มันก็เป็นชีวิตที่คนเราแต่ละคนต้องประสบพบพานอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงให้พ้นได้  จะมีก็แต่เพียงว่า  ใครจะโชคดีหรือโชคร้ายบนเวทีแห่งนิยายชีวิตเท่านั้น

วรรณกรรม " ลูกอีสาน "


                        

                    ลูกอีสาน เป็นการนำเอาเรื่องราว จากประสบการณ์ ที่ผู้เขียนพบเห็น ถ่ายทอดในรูปนิยาย โดยได้เขียนเป็นตอนๆ ประมาณ 36 ตอน เพื่อพิมพ์ลง ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย ช่วงปีพ.ศ.2518-2519 ลูกอีสาน ใช้วิธีการเล่าเรื่องราว โดยผ่านเด็กชายคูน ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ ในถิ่นชนบท ของอีสาน แถบที่จัดได้ว่า เป็นถิ่นที่แห้งแล้ง แห่งหนึ่งของไทย ผู้เขียนได้เล่าถึง ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจน ความเชื่อของชาวอีสาน รวมไปถึง การบรรยาย ถึงสภาพความเป็นไป ตามธรรมชาติ ของผู้คน และสภาพแวดล้อม เช่น การเกี้ยวพาราสีกัน ของทิดจุ่น และพี่คำกอง จนท้ายที่สุด ก็ได้แต่งงานกัน การออกไปจับจิ้งหรีดของคูน การเดินทางไปหาปลา ที่ลำน้ำชี เพื่อนำปลามาทำอาหาร และเก็บถนอม เอาไว้กินนานๆ ด้วยการทำปลาร้า เป็นต้น นอกจากนั้น ยังแทรกความสนุกสนาน เพลิดเพลิน จากการทำบุญ ตามประเพณี ไว้หลายตอน ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การจ้างหมอลำหนู ซึ่งเป็นหมอลำ ประจำหมู่บ้าน ลำคู่กับหมอลำฝ่ายหญิง ที่ว่าจ้างมาจากหมู่บ้านอื่น ทั้งกลอนลำ และการแสดงออก ของหมอลำทั้งสอง สร้างความสนุกสนาน ครึกครื้น แก่ผู้ชมที่มาเที่ยวงาน อย่างมาก ลูกอีสาน เป็นการถ่ายทอดเรื่องราว จากประสบการณ์ ด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา และแสดงให้เห็นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของชาวอีสานว่า ต้องเผชิญ กับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ ที่จะอดทน เพื่อเอาชนะ กับความยากแค้น ตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้ออารี ที่มีให้กันในหมู่คณะ ความเคารพ ในระบบอาวุโส สิ่งเหล่านี้ ปรากฏอยู่ในแต่ละตอน ของลูกอีสาน รวมทั้ง การแทรกอารมณ์ขัน ลงไปด้วย

ประเทศในตะวันออกกลาง



บาห์เรน                           เมืองหลวงคือ                   มานามา
อียิปต์                             เมืองหลวงคือ                   ไคโร
อิหร่าน                            เมืองหลวงคือ                   เตหะราน
ตุรกี                                เมืองหลวงคือ                   อังการา
อิรัก                                เมืองหลวงคือ                   แบกแดด
อิสราเอล                         เมืองหลวงคือ                   เยรูซาเล็ม
จอร์แดน                          เมืองหลวงคือ                   อัมมาน
คูเวต                              เมืองหลวงคือ                   คูเวตซิตี้
เลบานอน                        เมืองหลวงคือ                   เบรุต
โอมาน                           เมืองหลวงคือ                   มัสกัต
กาตาร์                            เมืองหลวงคือ                   โดฮา
ซาอุดีอาระเบีย                 เมืองหลวงคือ                   ริยาด
ซีเรีย                              เมืองหลวงคือ                   ดามัสกัส
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์         เมืองหลวงคือ                   อาบูดาบี
เยเมน                             เ
มืองหลวงคือ                  ซานา
และดินแดนปาเลสไตน์ (เวสต์แบงก์และฉนวนกาซา)


รางวัลโนเบล

         รางวัลโนเบลเป็นความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดนผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์ ซึ่งรู้สึกเสียใจจากการที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เขาจึงมอบ 94% ของทรัพย์สินมาให้เป็นเงินทุนในรางวัลโนเบล 5 สาขา (เคมี, การแพทย์, วรรณกรรม, สันติภาพ และฟิสิกส์)
สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์นั้น ได้เพิ่มเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) โดยธนาคารแห่งชาติสวีเดน โดยชื่ออย่างเป็นทางการคือ Bank of Sweden Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel (รางวัลธนาคารกลางสวีเดน สาขาเศรษฐศาสตร์ ในความทรงจำถึง อัลเฟรด โนเบล) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Nobel Memorial Prize in Economics โดยผู้ตัดสินรางวัลคือ Royal Swedish Academy of Sciences. เนื่องจากรางวัลนี้ไม่ได้อยู่ในความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล ดังนั้นจึงไม่ได้รับเงินรางวัลจากมูลนิธิโนเบล แต่ได้รับเงินจากธนาคารกลางสวีเดน อย่างไรก็ตาม รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับรางวัลในสาขาอื่น ๆ การมอบรางวัลนี้ ก็จะมอบในวันเดียวกันกับรางวัลโนเบลสาขาอื่น โดยมีกษัตริย์สวีเดนเป็นผู้มอบตั้งแต่ปี 1902 เป็นต้นมา ได้รับเหรียญตรา และจำนวนเงินเท่าเทียมกัน ซึ่งในตอนแรกนั้นกษัตริย์ออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดนทรงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการมอบรางวัลที่สำคัญสูงสุดระดับประเทศนี้ให้กับคนต่างชาติ แต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยเนื่องจากทรงเล็งเห็นว่ารางวัลที่สำคัญนี้จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ


รางวัลซีไรต์ คือ...


           เมื่อต้นปี พ.ศ. 2522 ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ลได้ริเริ่มรางวัลนี้ เนื่องจากโรงแรมโอเรียนเต็ลมีประวัติเกี่ยวข้องกับนักเขียนชั้นนำของโลกมาเป็นเวลาช้านาน จะเห็นได้จากการที่อาคารเก่าแก่ของโรงแรมที่ชื่อว่า "ตึกนักเขียน" (AUTHORS’ RESIDENCE) อันประกอบด้วยห้องชุดพิเศษ โดยใช้ชื่อนักเขียนคนสำคัญที่เคยมาพัก ได้แก่ ซอมเมอร์เซ้ท มอห์ม โนเอล โฆเวิด โจเซฟ คอนราด และเจมส์ มิเชนเนอร์ นอกจากนี้ยังมีห้องชุดเกรแฮม กรีน จอห์น เลอ คาร์เร่ และ บาร์บาร่า คาร์ทแลนด์ ในตึกริเวอร์วิงด้วย

           ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ล จึงได้ร่วมปรึกษากับ บริษัท การบินไทย และกลุ่มบริษัทในเครืออิตัลไทย จัดตั้งรางวัลวรรณกรรมนี้ขึ้น โดยมีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร ทรงเป็นประธานและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย หัวข้อในการหารือในครั้งนั้น คือ การส่งเสริมสนับสนุนนักเขียนในกลุ่มอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ไทย และการเผยแพร่ให้โลกรู้ถึงวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของภูมิภาคนี้ ต่อมาได้มีประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนทยอยเข้าร่วมงานซีไรต์จนครบสิบประเทศดังนี้ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม  ประเทศบรูไนดารุสซาลัมเข้าร่วมเมื่อปี 2529 ประเทศเวียดนามเข้าร่วมเมื่อปี 2539 ประเทศลาว และพม่าเข้าร่วมเมื่อปี 2541 ประเทศกัมพูชาเข้าร่วมเมื่อปี 2542 


วัตถุประสงค์มีดังนี้ คือ

*เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน
*เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่งกลุ่มประเทศอาเซียน
*เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะ ทางวรรณกรรมของนักเขียนผู้สร้างสรรค์
*เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไปในกลุ่มประเทศอาเซียน


กฎเกณฑ์การเลือกสรรงานวรรณกรรม มีดังนี้ คือ

*เป็นงานเขียนภาษาไทย

*เป็นงานริเริ่มของผู้เขียนเอง มิใช่งานแปลหรือแปลงจากของผู้อื่น

*ผู้เขียนยังมีชีวิตอยู่ขณะส่งงานเข้าประกวด

*เป็นงานตีพิมพ์เผยแพร่ (มี ISBN) เป็นเล่มครั้งแรกย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ภายในวันสิ้นกำหนดส่งงาน

*งานวรรณกรรมที่เคยได้รับรางวัลอื่นใดในประเทศไทยมาแล้วจะส่งเข้าพิจารณาอีกก็ได้

*รางวัลที่ตัดสินในแต่ละปีจะสลับประเภทของวรรณกรรม เป็น นวนิยาย กวีนิพนธ์ และเรื่องสั้น


รางวัลประกอบด้วย

*แผ่นโลหะจารึกเป็นอนุสรณ์เกียรติประวัติ

*นักเขียนไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์มีสิทธิเลือกไปเที่ยวประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยผู้จัดจะเป็นผู้ออกค่าเดินทาง ค่าที่พัก และอาหาร ทั้งหมด สามารถใช้สิทธิภายในระยะเวลา 1 ปี

*นักเขียนกลุ่มประเทศอาเซียน 9 ประเทศ มารับรางวัลพร้อมกับทัศนาจรที่ประเทศไทยกับนักเขียนซีไรต์ไทย เป็นเวลา 1 สัปดาห์

*เงินสด 


รายชื่อนักเขียนชาวไทย ผู้ได้รับรางวัลซีไรต์ เรียงลำดับตามปีที่ได้รับรางวัล


ปี พ.ศ.นักเขียนประเภทชื่อเรื่อง
พ.ศ. 2522คำพูน บุญทวีนวนิยายลูกอีสาน
พ.ศ. 2523เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์กวีนิพนธ์เพียงความเคลื่อนไหว
พ.ศ. 2524อัศศิริ ธรรมโชติรวมเรื่องสั้นขุนทอง เจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง
พ.ศ. 2525ชาติ กอบจิตตินวนิยายคำพิพากษา
พ.ศ. 2526คมทวน คันธนูบทกวีนาฎกรรมบนลานกว้าง
พ.ศ. 2527วาณิช จรุงกิจอนันต์เรื่องสั้นซอยเดียวกัน
พ.ศ. 2528กฤษณา อโศกสินนวนิยายปูนปิดทอง
พ.ศ. 2529อังคาร กัลยาณพงศ์บทกวีปณิธานกวี
พ.ศ. 2530ไพฑูรย์ ธัญญาเรื่องสั้นก่อกองทราย
พ.ศ. 2531นิคม รายยวานวนิยายตลิ่งสูง ซูงหนัก
พ.ศ. 2532จิระนันท์ พิตรปรีชาบทกวีใบไม้ที่หายไป
พ.ศ. 2533อัญชันรวมเรื่องสั้นอัญมณีแห่งชีวิต
พ.ศ. 2534มาลา คำจันทร์นวนิยายเจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน
พ.ศ. 2535ศักดิ์ศิริ มีสมสืบบทกวีมือนั้นสีขาว
พ.ศ. 2536ศิลา โคมฉายเรื่องสั้นครอบครัวกลางถนน
พ.ศ. 2537ชาติ กอบจิตตินวนิยายเวลา
พ.ศ. 2538ไพวรินทร์ ขาวงามบทกวีม้าก้านกล้วย
พ.ศ. 2539กนกพงศ์ สงสมพันธุ์เรื่องสั้นแผ่นดินอื่น
พ.ศ. 2540วินทร์ เลียววาริณนวนิยายประชาธิปไตยบนเส้นขนาน
พ.ศ. 2541แรคำ ประโดยคำบทกวีในเวลา
พ.ศ. 2542วินทร์ เลียววาริณเรื่องสั้นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน
พ.ศ. 2543วิมล ไทรนิ่มนวลนวนิยายอมตะ
พ.ศ. 2544โชคชัย บัณฑิต'บทกวีบ้านเก่า
พ.ศ. 2545ปราบดา หยุ่นเรื่องสั้นความน่าจะเป็น
พ.ศ. 2546เดือนวาด พิมวนานวนิยายช่างสำราญ
พ.ศ. 2547เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์กวีนิพนธ์แม่น้ำรำลึก
พ.ศ. 2548บินหลา สันกาลาคีรีเรื่องสั้นเจ้าหงิญ
พ.ศ. 2549งามพรรณ เวชชาชีวะนวนิยายความสุขของกะทิ
พ.ศ. 2550มนตรี ศรียงค์บทกวีโลกในดวงตาข้าพเจ้า
พ.ศ. 2551วัชระ สัจจะสารสินรวมเรื่องสั้นเราหลงลืมอะไรบางอย่าง”